วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีมนุษย์สัมพันธ์
พฤติกรรมบ่งชี้
1.1 แสดงกริยาท่าทางสุภาพต่อผู้อื่น
1.2 พูดจาสุภาพ
1.3 ช่วยเหลือผู้อื่น
1.4 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.5 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
1.6 ชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ
1.7 กล่าวคำขอบคุณ หรือขอโทษ ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

2. ความมีวินัย

พฤติกรรมบ่งชี้
2.1 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และข้อตกลงต่างๆ ของวิทยาลัย ได้แก่

แต่งกายถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับ ตรงต่อเวลา รักษาสาธารณสมบัติ
สิ่งแวดล้อม และเข้าร่วมกิจกรรมที่ครูอาจารย์ผู้สอนกำหนด
2.2 ประพฤติตนถูกต้องตามศีลธรรมอันดีงาม

3. ความรับผิดชอบ
พฤติกรรมบ่งชี้
3.1 มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3.2 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางไว้
3.3 ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ
3.4 ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ
3.5 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด
3.6 มีความเพียรพยายามในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3.7 ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเอง
3.8 ยอมรับผลการกระทำของตนเอง
3.9 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเอง
3.10 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้อื่น
3.11 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อส่วนรวม

4. ความซื่อสัตย์สุจริต
พฤติกรรมบ่งชี้
4.1 พูดความจริง
4.2 ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง
4.3 ไม่ทุจริตในการสอบ
4.4 ไม่ลักขโมย

5. ความเชื่อมั่นในตนเอง

พฤติกรรมบ่งชี้
5.1 กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
5.2 กล้าทักท้วงในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
5.3 กล้ายอมรับความจริง
5.4 เสนอตัวเข้าแข่งขันหรือทำงานท้าทาย
5.5 กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง

6. การประหยัด

พฤติกรรมบ่งชี้
6.1 ใช้วัสดุถูกต้องและเหมาะสมกับการงาน
6.2 ปิดน้ำ ปิดไฟ ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
6.3 ใช้จ่ายเงินของส่วนรวมให้เกิดประโยชน์ที่สุด

7. ความสนใจใฝ่รู้
พฤติกรรมบ่งชี้
7.1 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
7.2 ซักถามปัญหาข้อสงสัย
7.3 แสวงหาประสบการณ์และค้นหาความรู้ใหม่
7.4 มีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ใหม่

8. การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน
พฤติกรรมบ่งชี้
8.1 ไม่สูบบุหรี่
8.2 ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา
8.3 ไม่เสพสิ่งเสพติดอื่น ๆ
8.4 ไม่เล่นการพนัน
8.5 หลีกเลี่ยงในการเข้าไปอยู่ในสถานที่มีการเล่นการพนัน

9. ความรักสามัคคี

พฤติกรรมบ่งชี้
9.1 ไม่ทะเลาะวิวาท
9.2 ร่วมมือในการทำงาน

10. ความกตัญญูกตเวที

พฤติกรรมบ่งชี้
10.1 ตระหนักในพระคุณครู อาจารย์
10.2 มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์อย่างสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
10.3 อาสาช่วยเหลืองานครูอาจารย์

11. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พฤติกรรมบ่งชี้
11.1 คิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
11.2 มีความคิดหลากหลายในการแก้ปัญหา

12. การพึ่งตนเอง
พฤติกรรมบ่งชี้
12.1 สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง
12.2 สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง
12.3 หารายได้พิเศษได้ด้วยตนเองเมื่อจำเป็น


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ
ความหมายจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลในแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์

1.มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2.ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
3.ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับผู้อื่น
4.มีความจงรักภักดีต่อองค์กร
5.อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
6.ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น
7.มีความรักและศรัทธาต่ออาชีพ

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

อาชญากรรม 6 ประเภท
1.การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) E-Commerce
2.การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรมแบบเก่าโดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3.การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ
4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5.ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6.ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนากร แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

สรุป

ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมใช้เป็นหลักยึดถือในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศจากอคติและข้อครหาใดๆในการทำงาน ทำให้ผลงานที่ทำออกมาประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี จรรยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน แต่รวม ๆ แล้วมุ่งให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมา