วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายด้านไอที

กฎหมายด้านไอที

สรุป


การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 กิจการใดที่ต้องแจ้งให้ทราบหรือให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดตามกฎหมาย สำหรับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ซึ่งควรจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์

แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันอาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญทุกหน่วยงาน จึงทำให้มีผู้สนใจหันมาประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น เพราะมีตำแหน่งงานให้เลือกทำอย่างมากมาย มีรายได้ค่อนข้างดี และสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้สูงขึ้นได้อีกด้วย โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ ย่อมจะหางานทำได้ง่ายกว่าผู้ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์
1. แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์
การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และทั้งในสถานที่ทำงานราชการ ตลอดจนธุรกิจเอกชนต่าง ๆ อย่างมากมาย จนทำให้บุคลาการทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการของหน่วยงานจำนวนมาก สำหรับงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ สามารถจัดได้ดังต่อไปนี้
1) พนักงานคอมพิวเตอร์ (Key Operator)
2) พนักงานเตรียม (Data Entry)
3) บรรณารักษ์คอมพิวเตอร์ (Libralian Computer)
4) ผู้เขียนโปรมแกรม (Programmer)
5) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
6) นักบริหารทางด้านคอมพิวเตอร์
7) ครู-อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์
8) เจ้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์
9) พนักงานขายคอมพิวเตอร์
10) การเปิดร้านบริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์
11) การรับพิมพ์งานและนามบัตรด้วยคอมพิวเตอร์
12) พนักงานซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์
2. คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง ?
คอมพิวเตอร์นั้นมีขีดความสามารถในการทำงานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะแสดงข้อมูลทางด้าน
1) ข้อความ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่าง ๆ
2) รูปภาพ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
3) เสียง
3. งานโดยทั่ว ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ คือ
1) งานผลิตเอกสาร
2) งานบัญชี การคำนวณ และการแสดงกราฟ
3) งานจัดการข้อมูลและฐานข้อมูล
4) งานบรรยายและการนำเสนอ
5) โปรแกรมช่วยการสอน(CAI) Computer Aided Instruction
6) งานทางด้านการออกแบบ
7) การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ (Internet)
4. ตำแหน่งงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตำแหน่งงานทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ประกาศรับทางหน้าหนังสือพิมพ์ และทาง Internet เช่น
WWW.JOBSDB.COM โดยมีตำแหน่งงานให้เลือกทำงานมากมาย เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมในด้านความรู้และให้ตรงกับความสนใจในการประกอบอาชีพในอนาคต

สรุป
การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีจำนวนมากไม่ว่าเป็นหน่วยงานราชการหน่วยงานเอกชน หรืออาชีพส่วนตัว นักเรียนจะต้องเลือกอาชีพให้ตรงกับความรู้และความสามารถของตนเอง และติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาอย่างไม่หยุดนิ่ง ถ้าเราไม่ติดตามและใฝ่เรียนรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยีเหล่านี้ จะทำให้เป็นคนล้าสมัยและหางานทำยาก

คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์
1. คุณสมบัติของงานคอมพิวเตอร์
พนักงานคอมฯซึ่งเป็นพนักงานที่สถานประกอบการมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับให้บริการลูกค้า โดยจะเป็นบุคคลที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้เครื่องคอมฯได้อย่างถูกต้อง ถ้าพนักงานคอมฯปราศจากความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมฯแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจในที่สุด
2.ลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานคอมฯที่สถานประกอบการต้องการ
ลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการรับพนักงานคอมฯเข้าทำงานในหน่วยงานของตนนั้นจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
2.1 ด้านพุทธิพิสัย(Cognitive Domain) คือ ด้านความรู้ พนักงานคอมฯจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความจำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2.2 ด้านจิตพิสัย(Affective Domain) คือ ลักษณะกิจนิสัยของพนักงานคอมพิวเตอร์ที่สถานประกอบต้องการ
2.3 ด้านทักษะพิสัย (Psycho-motor Domain) พนักงานคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีทักษะคือความชำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์
3. คุณลักษณะอาชีพ(Vocational Qualification) ของนักเรียนระดับ ปวช. กลุ่มสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
1) ความรู้(Knowlency) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
1.1 ระบบคอมพิวเตอร์
1.2 หลักการของระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
1.3 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอผลงาน
1.4 การจัดการฐานข้อมูลและแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น
1.5 การทำงานแบบตารางงาน
1.6 การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1.7 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
1.8 หลักการทำงานระบบเครือข่าย
2) ทักษะ(Skill)
2.1 ใช้คำสั่งของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
2.2 ปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านกราฟิกนำเสนอผลงาน
2.3 ออกแบบสร้างและใช้คำสั่งโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น
2.4 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทำงานในสำนักงาน
2.5 ปฏิบัติเครื่องใช้สำนักงาน และการบำรุงรักษาเครื่อง
2.6 ปฏิบัติการและวิเคราะห์งานตามหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
2.7 ใช้ระบบเครือข่าย และนำเสนอผลงานในรูปแบบ Web Page ได้
3) ลักษณะนิสัย
3.1 มีความกระตือรือร้น และรับผิดชอบในการทำงาน
3.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
3.3 มีจิตสำนึกที่ดีต่อองค์กร
3.4 มีมนุษย์สัมพันธ์
3.5 การตรงต่อเวลา
3.6 ทำงานด้วยความระมัดระวัง ถือหลักความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
3.7 มีความละเอียดถี่ถ้วน สุขุม และรอบคอบในการทำงาน
3.8 มีการพัฒนาด้านวิชาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3.9 มีจรรยาบรรณในวิชาชีพคอมพิวเตอร์
4. คุณลักษณะ(Vocational Qualification) ของนักศึกษาระดับ ปวส. กลุ่มสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
1) ความรู้
1.1 ระบบคอมพิวเตอร์
1.2 หลักการของระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
1.3 การนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 ระบบฐานข้อมูล
1.5 ขั้นตอนวิธีการในการวิเคราะห์และออกแบบรายงาน รวมถึงการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
1.6 การทำงานระบบเครือข่าย
1.7 การเลือกซื้อและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์
1.8 บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
2) ทักษะ
2.1 นำระบบปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบ และแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
2.2 วางแผนออกแบบฐานข้อมูลในระบบต่าง ๆ
2.3 วิเคราะห์และออกแบบระบบ รวมถึงการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
2.4 ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปให้เหมาะสมกับงานต่าง ๆ
2.5 ใช้งานระบบเครือข่ายได้
2.6 เลือกซื้อ Hardware และ Software ได้เหมาะสม
2.7 ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
3) ลักษณะนิสัย
3.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบ
3.2 ตรงต่อเวลา
3.3 มีจิตสำนึกที่ดีต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน
3.4 มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
3.5 มีความละเอียด ถี่ถ้วน สุขุม รอบคอบ และอดทนในการทำงาน
3.6 ใช้วัสดุอุปกรณ์ของตนเองและส่วนรวมอย่างระมัดระวังและคุ้มค่า
3.7 ปฏิบัติงานวิชาชีพด้วยความระมัดระวัง ในด้านความปลอดภัย
3.8 มีการพัฒนาด้านวิชาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3.9 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.10 สามารถจักการ ตัดสินใจและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง
3.11 มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ


สรุป
คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์ในสถานประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือเอกชนจะต้องประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านกิจนิสัย และด้านทักษะ แต่สิ่งที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุดคือด้านกิจนิสัย เพราะในการทำงานพนักงานที่มีอุปนิสัยที่ดีย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าพนักงานที่มีนิสัยไม่ดี ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานในหน่วยงาน ฉะนั้นนักเรียนจะต้องปฏิบัติให้เป็นคนดีขยันหมั่นเพียรในการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการออกไปประกอบอาชีพอนาคต

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์

บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์

ในอดีตพนักงานที่ทำงานในสำนักงานธุรกิจเอกชนหรือทางราชการ จะมีพนักงานพิมพ์ดีดเสมียน พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่เอกสารการพิมพ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการพิมพ์เอกสารจดหมาย พิมพ์บันทึกการประชุม การทำรายงานต่างๆ ด้วยพิมพ์ดีดภาษาไทยและพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษแบบธรรมดาหรือพิมพ์ดีดไฟฟ้า รวมทั้งการทำหน้าที่ถ่ายเอกสารอัดสำเนาเอกสารจำนวนมากๆ ด้วยเครื่องอัดสำเนา ซึ่งเรียกกันว่า เครื่องโรเนียว เป็นงานที่จะต้องทำเป็นประจำวัน
ปัจจุบันวิวัฒนาการได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกหน่วยงาน พนักงานต่าง ๆ ในหน่วยงานได้หันมาใช้คอมฯพิมพ์เอกสารหรือจดหมายแทนพิมพ์ดีดแล้ว เพราะสามารถทำงานได้รวดเร็วและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในเครื่องได้ด้วย เมื่อต้องการจะใช้ข้อมูลเดิมก็สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที
1.บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์
อาชีพคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ ความรู้ และสติปัญญามากไม่แพ้อาชีพอื่นอีกทั้งยังเป็นอาชีพที่มีบทบาทและความสำคัญในการช่วยพัฒนางานธุรกิจ งานอุตสาหกรรม และงานเกษตรกรรม ซึ่งเป็นเส้นทางชีวิตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
2. ความป็นมาของอาชีพคอมพิวเตอร์
วิชาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณครึ่งทศวรรษมาแล้ว ปัจจุบันมีการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง และป็นที่ต้องการกันมากเมื่อสิบกว่าปีนี้เอง ขณะนี้อาจกล่าวได้ว่าธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานต่างๆล้วนมีความต้องการบุคลากรคอมพิวเตอร์กันมากเหลือเกินจนถึงขั้นแข่งขันประมูลตัวนักคอมพิวเตอร์ ที่มีประสบการณ์และความสามารถสูงจากที่อื่นให้มาอยู่ด้วย
3. ความหมายของอาชีพคอมพิวเตอร์
อาชีพคอมพิวเตอร์ หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมฯโดยเฉพาะมีรายได้ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนค่าจ้างโดยตรงจากการทำงานทางด้านคอมฯ ทั้งในอาชีพอิสระหรือเป็นพนักงานลูกจ้างในองค์กร
“คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่สามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล ทำการเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ”
4. คอมพิวเตอร์กับการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
ที่ผ่านมาเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์จะมุ้งเน้นการปรับปรุงบริการให้กับลูกค้า โดยมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สั้น รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสร้างเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ และกระแสการพัฒนาปรับปรุงระบบบริการยังคงดำเนินต่อเนื่องต่อไป เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้กันได้แก่ เรื่องของภาพ(IMAGE) เป็นกระบวนการส่งผ่านข้อมูลระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขาเพื่อสร้างระบบมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้า
5. การขยายตัวทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา วงเงินที่ใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีคอมฯของทั้งประเทศจะมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 22% โดยกลุ่มที่ลงทุนด้านเทคโนโลยีคอมฯมากที่สุดคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน รองลงมาเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ ถัดมาเป็นธุรกิจการค้า
การนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ จะคำนึงถึง 3 ข้อคือ
Efficiency (ประสิทธิภาพ) คือ สามารถทำงานได้ผลและเสร็จรวดเร็ว
Economy (ประหยัด) คือ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของงานที่ได้รับ ราคาไม่แพงเกินไป
Productivity (ประสิทธิผล) คือ ได้ผลงานมาก เช่น สามารถเก็บข้อมูลได้มากและถูกต้องรวดเร็ว และสามารถเรียกมาใช้งานได้ทันที
6. ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้
6.1 การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
6.2 เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส
6.3 สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน
6.4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
6.5เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ
6.6 การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม
7. การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


สรุป
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทและความสำคัญต่อทุกหน่วยงาน ทำให้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมฯมากมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจพากันมาเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีมนุษย์สัมพันธ์
พฤติกรรมบ่งชี้
1.1 แสดงกริยาท่าทางสุภาพต่อผู้อื่น
1.2 พูดจาสุภาพ
1.3 ช่วยเหลือผู้อื่น
1.4 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.5 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
1.6 ชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ
1.7 กล่าวคำขอบคุณ หรือขอโทษ ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

2. ความมีวินัย

พฤติกรรมบ่งชี้
2.1 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และข้อตกลงต่างๆ ของวิทยาลัย ได้แก่

แต่งกายถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับ ตรงต่อเวลา รักษาสาธารณสมบัติ
สิ่งแวดล้อม และเข้าร่วมกิจกรรมที่ครูอาจารย์ผู้สอนกำหนด
2.2 ประพฤติตนถูกต้องตามศีลธรรมอันดีงาม

3. ความรับผิดชอบ
พฤติกรรมบ่งชี้
3.1 มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3.2 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางไว้
3.3 ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ
3.4 ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ
3.5 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด
3.6 มีความเพียรพยายามในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3.7 ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเอง
3.8 ยอมรับผลการกระทำของตนเอง
3.9 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเอง
3.10 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้อื่น
3.11 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อส่วนรวม

4. ความซื่อสัตย์สุจริต
พฤติกรรมบ่งชี้
4.1 พูดความจริง
4.2 ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง
4.3 ไม่ทุจริตในการสอบ
4.4 ไม่ลักขโมย

5. ความเชื่อมั่นในตนเอง

พฤติกรรมบ่งชี้
5.1 กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
5.2 กล้าทักท้วงในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
5.3 กล้ายอมรับความจริง
5.4 เสนอตัวเข้าแข่งขันหรือทำงานท้าทาย
5.5 กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง

6. การประหยัด

พฤติกรรมบ่งชี้
6.1 ใช้วัสดุถูกต้องและเหมาะสมกับการงาน
6.2 ปิดน้ำ ปิดไฟ ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
6.3 ใช้จ่ายเงินของส่วนรวมให้เกิดประโยชน์ที่สุด

7. ความสนใจใฝ่รู้
พฤติกรรมบ่งชี้
7.1 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
7.2 ซักถามปัญหาข้อสงสัย
7.3 แสวงหาประสบการณ์และค้นหาความรู้ใหม่
7.4 มีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ใหม่

8. การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน
พฤติกรรมบ่งชี้
8.1 ไม่สูบบุหรี่
8.2 ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา
8.3 ไม่เสพสิ่งเสพติดอื่น ๆ
8.4 ไม่เล่นการพนัน
8.5 หลีกเลี่ยงในการเข้าไปอยู่ในสถานที่มีการเล่นการพนัน

9. ความรักสามัคคี

พฤติกรรมบ่งชี้
9.1 ไม่ทะเลาะวิวาท
9.2 ร่วมมือในการทำงาน

10. ความกตัญญูกตเวที

พฤติกรรมบ่งชี้
10.1 ตระหนักในพระคุณครู อาจารย์
10.2 มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์อย่างสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
10.3 อาสาช่วยเหลืองานครูอาจารย์

11. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พฤติกรรมบ่งชี้
11.1 คิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
11.2 มีความคิดหลากหลายในการแก้ปัญหา

12. การพึ่งตนเอง
พฤติกรรมบ่งชี้
12.1 สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง
12.2 สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง
12.3 หารายได้พิเศษได้ด้วยตนเองเมื่อจำเป็น


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ
ความหมายจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลในแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์

1.มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2.ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
3.ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับผู้อื่น
4.มีความจงรักภักดีต่อองค์กร
5.อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
6.ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น
7.มีความรักและศรัทธาต่ออาชีพ

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

อาชญากรรม 6 ประเภท
1.การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) E-Commerce
2.การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรมแบบเก่าโดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3.การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ
4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5.ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6.ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนากร แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

สรุป

ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมใช้เป็นหลักยึดถือในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศจากอคติและข้อครหาใดๆในการทำงาน ทำให้ผลงานที่ทำออกมาประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี จรรยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน แต่รวม ๆ แล้วมุ่งให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

บุคลิกภาพ (Personality) หมายถึง บุคลิกลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย อารมณ์ ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนความมีมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง

บุคลิกภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล ทำให้บุคคลแต่ละคนนั้นสมรรถทางร่างกายและจอตใจแตกต่างกันออกไป

-ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม หมายถึง รูปร่างหน้าตาของแต่ละบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น มีรูปร่างหน้าตา รูปหล่อ หน้าตาสวยงาม บางคนเกิดมาหน้าตาหน้ากลัว ขี้ริ้วขี้เหร่ บางคนไม่สมประกอบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลิคภาพเป็นอย่างมาก บางคนที่เกิดมาที่มีความเพียบพร้อมดีแล้วทางด้านร่างกาย ย่อมส่งผลดีทางด้านจิตใจอีกด้วย

ลักษณะทางร่างกายที่ทุกคนชื่นชอบ

1.มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์

2.มีผิวพรรณสวยงามเหมาะตามธรรมชาติ

3.ชาวเอเชียจะมีผมเป็นสีดำ ชาวยุโรบจะมีผมเป็นสีทอง

4.ความเข้มแข็งของสุภาพบุรุษ และความนุ่มนวลของสุภาพสตรี

-ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม หมายถึง ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ ด้านอุปนิสัย ใจคอ ลักษณะความรู้สึกนึกคิด ความร่าเริงแจ่มใส ความประพฤติและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

การพัฒนาบุคลิกภาพ

ลักษณะของบุคคลโดยรวมของแต่ละบุคคล ย่อมแตกต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตา ด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา พฤติกรรม เพื่อการกระทำใดๆ ตลอดจนการแสดงกริยาอาการต่างๆ ซึ่งถือเป็นลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคลซึ่งต้องมีการพัฒนาเพื่อเป็นที่ยอมรับนับถือกับผู้ที่พบเห็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ

1.สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกาย

2.บุคลิกภาพที่ดีคล่องแคล่วว่องไว และสง่าผ่าเผย

3.มีความร่าเริง จิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี

4.มีกิริยามารยาทและพูดจาสุภาพเป็นเสน่ห์กับผู้พบเห็น

5.มีเหตุผล ไม่วู่วาม มีความสุขุมรอบคอบ มีสติ ควบคุมตังเองได้

6.มีจิตใจเข้มแข็ง อดทน

7.ยอมรับความเป็นจริงของโลกมนุษย์

8.มีความเชื่อมั่นในตังเอง กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก

9.มีความคิดใฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน

10.ปรับปรุงตนเอง ให้เข้ากับสังคม

บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างยิ่ง เพราะคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีย่อมจะช่วยส่งเสริม การปฏิบัติงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ บุคลิกภาพประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล

ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม คือ รูปร่างหน้าตาของแต่ละบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด

ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม คือ ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ ด้านอุปนิสัย ใจคอ

บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลย่อมจะแตกต่างกันไป ฉะนั้นการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพในทุก ๆ ด้าน ให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น ก็จะเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จในการดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข